ทฤษฎี
ความชื้น ในอากาศ ที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า ความชื้น ซึ่งมาจากคำเต็ม ๆ ว่า ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity หรือ RH) หมายถึง อัตราส่วนระหว่าง ปริมาณ ความชื้น (ไอน้ำ) ที่มีอยู่จริงในอากาศ กับปริมาณ ความชื้น (ไอน้ำ)ที่อากาศขณะนั้น จะรองรับได้เต็มที่ ณ อุณหภูมิเดียวกัน (Matthes and Rushing, 1972) หากปริมาณ ความชื้น มีมากกว่าก็จะกลั่นตัว เป็นหยดน้ำ
หน่วยของความชื้นสัมพัทธ์ จึงออกมาเป็นเปอร์เซ็น (%)
ฉะนั้นความชื้นสัมพัทธ์ มีค่ามากสูงสุดที่ 100 % ส่วนที่เกิน 100 % ของ ความชื้น จะอยู่ในรูป ของเหลวที่เรียกว่าน้ำ หรือ หยดน้ำ
ความชื้น สัมพัทธ์ คำนวณหาได้จากสูตร
ความชื้น สัมพัทธ์ (%) = ปริมาณ ความชื้น (ไอน้ำ)ที่มีอยู่จริงในอากาศ x 100 หารด้วย ปริมาณความชื้น(ไอน้ำ)ที่อากาศขณะนั้นจะรองรับได้ ณ อุณหภูมิเดียวกัน
ปริมาณ ความชื้น (ไอน้ำ)ที่มีอยู่ในอากาศ หรือ absolute humidity อาจเปลี่ยนแปลง ไปได้ตามสภาพที่แวดล้อม และอุณหภูมิ ส่วนปริมาณน้ำ ที่อากาศ จะรองรับได้ หรือปริมาณ ความชื้น (ไอน้ำ) ณ จุดอิ่มตัว (saturation) หรืออีกนัยหนึ่ง ปริมาณ ความชื้น (ไอน้ำ)ที่มีอยู่ในอากาศ ซึ่งมี ความชื้น สัมพันธ์ 100% นั้น จะเป็นค่าคงที่ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ
จุดประสงค์
1.เพื่อศึกษาปริมาณชื้นที่มีอยู่ในขยะ
2.เพื่อศีกษาค่าปริมาณของแข็งรวม
อุปกรณ์ในการวิเคราะห์
1.ตู้อบ( Hot air oven )
2.ถาดอลูมิเนียม
3.เครื่องชั่งน้ำหนัก
ขั้นตอนการวิเคราะห์
1.ชั่งน้ำหนักถาดอลูมิเนียมเปล่า
2.สุ่มตัวอย่างขยะ ประมาณ 50ลิตร ใส่ถาดอลูมิเนียมแล้วชั่งน้ำหนัก
3.อบขยะในตู้อบที่อุณหภูมิ 75°-100° C ประมาณ 9- 4 วัน อบที่อุณหภูมิ 105° C มากกว่า 1ชม. (จนขยะแห้งสนิท หรือน้ำหนักขยะคงที่ )
4.ชั่งน้ำหนักขยะที่อบแล้ว
5.ทำการหาค่าความชื้นด้วยเครื่องหาค่าความชื้นอัตโนมัติ ( Moisture Balance ) และหัวเซ็นเซอร์วัดความชื้นอัตโนมัติ แล้วนำค่ามาเปรียบเทียบกัน
การคำนวณ
M = < ( W1 - W2 ) / W1 > x 100
โดยที่
M = ค่าความชื้น ( เปอร์เซ็นต์ )
W1 = น้ำหนักขยะก่อนอบ
W2 = น้ำหนักขยะหลังจากอบแห้ง
M = < ( 2.1- 0.6535 ) / 2.1 > x 100 = 68.88 %
สรุปผลการทดลอง
เมื่อทำการทดลองและคำนวณหาค่าความชื่นได้เท่ากับ 68.88 % พบว่า
ขยะมีค่าความชื้นเกิน50% ของขยะทั้งหมด ซึ้งความชื้นนั้นมาจากขยะ
ที่เปียกและพวกใบไม้ เศษไม้ ต่างๆ
รูปประกอบการทดลอง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhCOcSNxQ5-N6criKwTXuFOF4bsOEAzafjsqvBfZcO6wXQ8viadYfCbggZjAkdR02A_sOlytTEu8Ls-G4dL29Sp6XYLfwcvJ_vsvRudRoCe25-MRniYJtVnSdOuF2hBs1d1wme8dDolqS0/s400/51.jpg)
ขยะที่ผ่านการแยกองค์ประกอบ เราจะนำมาตากให้แห้ง ก่อนที่จะนำไปบดต่อไป
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhcvJ9KAlvBxE7HhuBuEvS7EpRxsdVx7rsN1oN0J39OunpBU5GplMgsRPScUGCJGqOlwvo_v5Jg2jKIxbuHc5f_dmSGrQw09dO5-1TxPBiwqlcVCgsbVE8vi3d2w-bSjxn5N_MiEuV7PG0/s400/52.jpg)
เตรียมเครื่องบดให้พร้อม แล้วนำขยะที่ตากแห้งได้ที่มาบด
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjV28O8cLlA28heexaRUfOawILWWgXigr5VgwaYuusHySazs2fGvruPER_ganPeeKSgYRALAXqoskYmuwzQWHdjkJRogPpkEl-mFxRtxZJE7whO4bgCBrvO6ByB2R4yTPqcewEWYhW5VMw/s400/53.jpg)
ลักษณะของขยะที่ผ่านการบด จะเป็นผงและเศษนิดๆ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhCx7O-JtSAd1Z7BPVdDucoD8DIsb-fW4T_IwDCxQYSxwqsKb5UB2rBnYcasFyMz_qLZjm8vT9ts5bAMoqd3kjPhTSZu0pgAIaI_qCCbfc5z9q-lbiPl2njQjzKxlkB0dYaskHVd_Dpzok/s400/54.jpg)
บัดทำความสะอาดเรื่องบด เมื่อทำการบดเสร็จแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น