วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปฎิบัติการที่ 2 การหาขนาด

ปฎิบัติการที่ 2 การหาขนาด

ทฤษฎี

ขนาดของขยะหมายถึง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของขยะที่นำมาวิเคราะห์


จุดประสงค์

1.เพื่อศึกษาตัวแปรที่ใช้ในการพิจารณาการแยกขยะโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
2.เพื่อศึกษาสูตรวิธีการคำนวนเพื่อคำนวณหาร้อยละของขยะรวม

อุปกรณ์ในการวิเคราะห์

1.ตะแกรงร่อนขยะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 37.5 mm - 2 mm
2.อุปกรณ์ตักขยะ เช่น พลั่ว
3.ภาชนะรวบรวมฝอย เช่น ถุงพลาสติก ถาดโลหะ
4.เครื่องชั่งน้ำหนัก
5.หน้ากากสวมป้องกันฝุ่น
6.ถุงมือยาง

ขั้นตอนการวิเคราะห์

1.นำตัวอย่าขยะที่ได้จากการ Quartering จนเหลือประมาณ 50 ลิตร มาชั่งน้ำหนักและบันทึกข้อมูลไว้

2.จากนั้นก็ตักขยะ ( ควรเป็นขยะที่อบแห้งแล้วสำหรับการทดลองนี้ เนื่องจากจะทำให้ตะแกรงสกปรก แต่ถ้าเป็นในงานจริงต้องเป็นขยะเปียก ) ใส่ในกระแกรงร่อนชั้นบนสุด โดยให้ตะแกรงขนาดใหญ่อยู่ด้านบนและขนดเล็กอยู่ด้านล่าง

3.เขย่าให้ขยะตกลงมาตามช่องของตะแกรงร่อนเมื่อตักขยะใส่ตะแกรงจนหมดและเขย่าจนไม่มีขยะตกลงแล้ว

4.จึงตักขยะที่ได้ในแต่ละช่องของตะแกรงใส่ภาชนะแล้วชั่งน้ำหนัก

5.จึงได้ขยะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ขนาด คือ ใหญ่กว่า 37.5 mm ระหว่าง 19-37.5 mm ระหว่าง 9.7-19 mm ระหว่าง 2-9.7 mm เล็กกว่า 2mm


การคำนวณ

การคำนวณขนาดมูลฝอย = ( น้ำหนักขยะแต่ละขนาด x 10) / น้ำหนักขยะรวมทั้งหมด

หน่วยของ อัตราส่วนของขนาดขยะ เป็นร้อยละของขยะรวม


ผลการทดลอง





สรุปผลการทดลอง
การหาขนาดเป็นปัจจัยในการกำจัดขยะ จากที่เราได้เก็บขยะมาในการปฏิบัติการที่ 1 ทำให้เรารู้ว่าขยะนั้นมีอะไรบ้าง
จึงนำมาแยกขนาดได้ดังนี้ ชิ้นที่ขนาดใหญ่จนไม่สามารถเข้าเครื่องได้ = 1.08 กิโลกรัม ชิ้นที่ 1 = 0.9 กิโลกรัม
ชิ้นที่ 2 = 0.3 กิโลกรัม ชิ้นที่ 3 = 0.6 กิโลกรัม ชิ้นที่ 4 = 0.18 กิโลกรัม ชิ้นที่ 5 = 0.22 กิโลกรัม
ทำให้ทราบว่าขยะในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่

รูปประกอบการทดลอง


นำขยะมาเตรียมใส่ตะแกรงเพื่อนำไปแยกขนาด


เปิดเครื่องเขย่าให้ขยะตกตามช่องตะแกรง


นำขยะในชั้นตะแกรงแต่ละชั้นไปใส่ถุงชั่งน้ำหนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น